วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 7

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556
เวลา 08.30:12.20 วัน พฤหัสบดี (เช้า) กลุ่มเรียน 103
ครั้งที่ 7
 
 
 
นิทานเรื่อง สามเกลอ...เจอแก๊ส

           กาลครั้งหนึ่งมีเพื่อนสามสหายชื่อว่า สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม ทั้งสามคนมีบุคลิกที่แตกต่างกัน เจ้าสามเหลี่ยมมีอารมณ์ที่ขึ้โมโห เจ้าสี่เหลี่ยมเป็นคนใจกว้าง และเจ้าวงกลมเป็นนเจ้าชู้ วันหนึ่งเจ้าเพื่อนสามคนนี้ออกไปเที่ยวผับ แต่พอเข้าไปแล้วเจ้าสามเหลี่ยมก็รู้สึกหงุดหงิดเพราะเสียงดัง เจ้าสี่เหลี่ยมก็อยู่เฉยๆส่วนเจ้าวงกลมกำลังจีบสาว คนในผับกำลังเคาท์ดาวน์กันอยู่ อยู่ก็มีแก๊สน้ำตาถูกโยนเข้ามาในผับ เจ้าสีเหลี่ยมก็เลยเป่านกหวีด เพื่อบอกให้เพื่อนๆอยู่ในความสงบ...เจ้าวงกลมตะโกนบอกให้เพื่อนปิดจมูก เจ้าสามเหลี่ยมวิ่งไปจับคนที่ขว้างแก๊สน้ำตา แล้วทุกคนก็ทยอยออกไปจากผับ และกลับบ้านอย่างปลอดภัย
 
 
กลุ่มของดิฉันได้หน้าปก
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
          ได้รู้การทำงานเป็นทีม การร่วมมือกันทำกิจกรรมของเพื่อนในห้อง ทำให้รู้ว่าความสามัคคีจะทำให้กิจกรรม ทุกกิจกรรมสำเร็จไปได้ด้วยดี ถ้าช่วยกันทำ 
 



วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556
เวลา 08.30:12.20 วัน พฤหัสบดี (เช้า) กลุ่มเรียน 103
ครั้งที่ 6
 
 
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1: จำนวนและการดำเนินงาน
สาระที่ 2: การวัด
สาระที่ 3: เรขาคณิต
สาระที่ 4: พีชคณิต
สาระที่ 5: การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6: ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ 1: จำนวนและการดำเนินงาน
 
          -  มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

จำนวน
 
-  การใช้จำนวนบอก ปริมาณที่ได้จากการนับ
-  การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
-  การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-  การเปรียบเทียบจำนวน
-  การเรียงลำดับจำนวน
 
สาระที่ 2: การวัด
 
          -  มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกีบการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ เวลา

ความยาว น้ำหนัก และ ปริมาตร
 
-  การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-  การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-  การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
 
สาระที่ 3: เรขาคณิต
 
          -  มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
          -  มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
 
-  การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และ ระยะทาง ของสิ่งต่างๆ

รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
 
-  ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-  รูปวงกลม ณุปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-  การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
-  การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
 
 
 
 
 
สาระที่ 5: การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

          -  มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
 
-  การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย

สาระที่ 6: ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
 
          -  การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยง คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างรรค์
 
 
กิจกรรมวันนี้
 
อาจารย์ในเลือกรูปทรงคนล่ะ 1 หรือ 2 ก็ได้ แร้วให้ตัดติดกลางกระดาษ แร้วให้นักศึกษาวาดต่อเติม ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ ให้เป็นรูปสัตว์อะไรก็ได้

รูปที่ทำ "น้องแมวเหมียว"
 
โดยใช้ สี่เหลี่ยม
 
 
 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
          ได้รู้เกี่ยวกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ การนำไปปรับใช้ในการสอนให้เหมาะสมกับวัยของเด็กในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
เวลา 08.30:12.20 วัน พฤหัสบดี (เช้า) กลุ่มเรียน 103
ครั้งที่ 5


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็น "วันพ่อแห่งชาติ "






วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
เวลา 08.30:12.20 วัน พฤหัสบดี (เช้า) กลุ่มเรียน 103
ครั้งที่ 4
 
  1.จำนวนและการดำเนินงาน
 

           จำนวน หมายถึง ปริมาณของสิ่งต่างๆซึ่งเป็นสิ่งบอกถึงความมากหรือน้อย จำนวนสามารถแสดงได้ด้วยตัวเลข รูปภาพ หรือสัญลักษณ์อื่นๆ
 
           การดำเนินการ หมายถึง การกระทำหรือลำดับขั้นตอนที่สร้างคำใหม่ขึ้นมาเป็นผลลัพธ์ โดยการป้องค่าเข้าไป การดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ การดำเนินการเอกภาค จะใช้คำที่ป้อนเข้าไปเพียงหนึ่งคำ เช่น นิเสธหรือฟังก็ชันตรีโกณมิติ ส่วนการดำเนินการทวิภาคจะใช้สองค่า เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร การยกกำลัง
2.การวัด

          การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนักด้วยการจับเวลา การวัดระยะทาง การชั่งน้ำหนักหรือการตวง ซึ่งมีหน่วยที่แน่นอน แต่การสอนเรื่องการวัดให้กับเด็กอนุบาล
การวัดจะต้องไม่มีหน่วย

 
3.พีชคณิต
 
          พีชคณิต คือ เลขคณิตของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวนตัวเลข ความหมาย คือ แทนที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนตัวเลข เลขเฉพาะค่าพีชคณิตแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณใดๆในรูปแบบทั่วไปมากกว่า
 

ความรู้ที่ได้รับ

          ได้รู้ถึงวิธีการนำไปสอนเด็กในอนาคต การได้นำรูปทรงเลขาคณิต การนับจำนวน พีชคณิต มาพัฒนาทำเป็นสื่อการสอน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้




วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
เวลา 08.30:12.20 วัน พฤหัสบดี (เช้า) กลุ่มเรียน 103
ครั้งที่ 3

 
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 

 
 
 
 
 
กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำภายในห้อง
 
ให้เลือกตัวเลขมาตัวหนึ่ง 1-10 ดิฉันเลือก "เลข 7"
แล้วให้ตัดเป็นกลีบดอกไม้ตามจำนวนเลขที่เลือก!! ตกแต่งให้สวยงาม...
 

 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
 สามารถนำไปเป็นสื่อการสอนในอนาคต โดยการให้เด็กได้แยกแยะ จำแนก ตามรูปร่าง สี ลักษณะ
วัตถุ และได้ให้เด็กได้ใช้จินตนาการ ใช้กล้ามเนื้อมือ และได้ลงมือปฏิบัติจริง
 

 
 

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่   14  พฤศจิกายน พ.ศ.2556
เวลา 08.30:12.20 วัน พฤหัสบดี (เช้า) กลุ่มเรียน 103
ครั้งที่ 2


ไม่ได้มาเรียนค่ะ เนื่องจากต้องรีบกลับไปงานศพญาติที่ต่างจังหวัด





วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 1

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่   7  พฤศจิกายน พ.ศ.2556
เวลา 08.30:12.20 วัน พฤหัสบดี (เช้า) กลุ่มเรียน 103
ครั้งที่ 1
 
เป็นการเข้าเรียนครั้งแรก อาจารย์ได้บอกรายละเอียดของการให้คะแนนทั้งเทอม ว่าได้จากส่วนไหน เท่าไร อย่างไร แล้วได้ถามถึงความพอใจของนักศึกษาถึงคะแนนที่จะให้ ! แล้วทำให้ "Mind map" ความรู้พื้นฐานที่มีต่อ วิชา วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าเป็นอย่างไร?




 
 
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
ได้นำความรู้เดิมกลับมาทบทวน สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในอนาคต
 
ในชีวิตประจำวันได้